วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์  จอภาพ
4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้าน    หลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า C & C อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะนับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ C & C และเกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
            เช่นเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา

การแก้ปัญหาเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์

สาเหตุ :
ไม่ได้ต่อคอมพิวเตอร์ลงเต้าเสียบที่
ด้านหลัง
การแก้ปัญหา :
ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟนั้นเสียบ
อยู่ที่เต้าเสียบไปบนฝาผ...
ที่มา https://www.slideshare.net/panisraploy/ss-43853435

กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์

ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้
1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้าเมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหาแล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้างยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลองฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตารางไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้หาทงแก้ไขต่อไป
2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบนหน้าจอ
การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วยข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการแจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงานส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทางแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบนหน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือเอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดู ก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น
3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่สามารถสังเกตุ
วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2 แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เราทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหน มีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการ ผิดปกติที่เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์หรือช่าง ผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบสอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้
4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย
ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่ ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือกระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่ผ่านมา
5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึงการปรับแต่งเครื่อง
สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียูจนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพเครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการอัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที